บ้านเขากลม วางอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดกระบี่ เดินทางตามออกจากจังหวัดไปตามเส้นทางแห่งการท่องเที่ยวกระบี่- อ่าวพระนาง ตามรอยทางประวัติศาสตร์ได้มีเรื่องราวเล่าต่อๆกันว่ามีพญานาคอยู่สองตัว ตัวหนึ่งใหญ่และอีกตัวหนึ่งเล็กทั้งสองได้มีการต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงพญานาคตัวเมีย มีการปะทะกันอย่างรุนแรง จนทำให้หงอนของพญานาคตัวหนึ่งหลุดกระเด็นตกบนพื้นดิน แล้วจากนั้นก็งอกขึ้นกลายเป็นภูเขาลูกหนึ่งอยู่ในหมู่บ้านแห่งนี้ซึ่งต่อมาชาวบ้านนำมาเรียกเป็น ชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเขากลม” ตั้งแต่นั้นมา
เดิมบ้านหนองทะเลเป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลเขาทอง
เนื่องจากตำบลเขาทองมีพื้นที่เขตการปกครองกว้างไม่สะดวก ในการคมนาคม
จึงได้แยกออกมา
7 หมู่บ้าน มาตั้งเป็นตำบล หนองทะเล
เมื่อปีพ.ศ.
2522 ได้ชื่อว่า หนองทะเล เพราะมี หนองน้ำขนาดใหญ่
ปัจจุบันตำบลหนองทะเลเป็นที่ตั้งเรือน รับรองที่ประทับ อยู่ที่แหลมหางนาค หมู่ที่
2
บ้านคลองม่วง
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ จด
หมู่ที่ 5 ตำบลหนองทะเล
ทิศใต้ จด
หมู่ที่ 4 ตำบลหนองทะเล
ทิศตะวันออก จด
หมู่ที่ 6 ตำบลหนองทะเล
ทิศตะวันตก จด
หมู่ที่ 1 ตำบลหนองทะเล
ภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
บ้านเขากลม ตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองกระบี่ ไปทางทิศเหนือประมาณ 17 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็น พื้นที่ราบ และเป็นเนินบ้าง
ลักษณะภูมิอากาศ อยู่ในเขตร้อนชื้น อากาศโดยทั่วไป จะอบอุ่น และร้อนไม่มีอากาศหนาว มี 2 ฤดูคือฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่ง ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม ส่วนฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนธันวาคม
กรคมนาคม/การโทรคมนาคมและระบบสาธารณูปโภค
การคมนาคม การเดินทางไปหมู่บ้านเขาขาว ถนนสายหลักในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง โดยแยกจากถนน สายเพชรเกษม รวม 2 สาย ประชากรมีไฟฟ้าใช้ครบทุกครัวเรือน จำนวน 219 ครัวเรือน มีเสนทางคมนาคมในการขนส่งใช้ได้ตลอด ทุกฤดูกาล
ประชากร/สภาพทางเศรษฐกิจ/รายได้เฉลี่ย
สภาพทางเศรษฐกิจ
- มีสถานบริการน้ำมัน จำนวน 3 ร้าน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน บ้านเขากลมได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสแนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ แต่มีคนไทยน้อยคนนักที่จะน้อมนำปรัชญานี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการดำเนินชีวิต อย่างเป็นรูปธรรม
- รายได้เฉลี่ย 51,160 บาท/คน/ปี – ครัวเรือนมีการออมทรัพย์จำนวน 218 ครัวเรือน ของจำนวน ครัวเรือนทั้งหมด 219 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.5 ของครัวเรือนทั้งหมด
- ผลผลิตที่จำหน่ายสู่ตลาดภายในและภายนอกชุมชนได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ,ผลไม้เช่นทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง กล้วย มะม่วง และพืชผักสวนครัวต่างๆ
กลุ่มอาชีพ
ได้แก่ กลุ่มบาติก กลุ่มสมุนไพร กลมเลี้ยงปลา กลมเลี้ยงผึ้ง กลุ่มเลี้ยงแพะ กลุ่มผลิตปุ๋ยชีวภาพ กลุ่ม อาชีพเลี้ยงสัตว์ กลุ่มปลูกพืชผักปลอดสารพิษ กลุ่มเลี้ยงสัตว์สมุนไพร
ซึ่งเกือบทุกกลุ่มจะมีเงินออมของตัวเอง ดำเนินงานภายใต้ระเบียบของแต่ละกลุ่ม และจะมีการประชุม กลุ่มพร้อมกันในวันที่ 9 ของทุกเดือนพร้อมกับการส่งสัจจะในกลุ่มที่ให้มีการเก็บออมเงิน
การประกอบอาชีพ
ชาวเขากลม ยึดการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยการทำ ตามคำแนะนำของ นายสงวน มงคลศรีพันเลิศ ผู้บุกเบิกศูนย์เรียน รู้การเกษตรพอเพียง บอกเล่าถึงความเป็นมาของศูนย์แห่งนี้ว่า เริ่ม ต้นมาจากปี 2540 ตัวเองเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานอยู่ในบริษัท แห่งหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรีมีรายได้ถึงเดือนละ 28,000 บาท แต่ไม่ เคยมีเงินเหลือเก็บ คิดถึงในหลวงสอนให้คิดเรื่องกินก่อนคิดเรื่องเงิน จึงตัดสินใจกลับบ้านที่ จ.กระบี่ เริ่มต้น ทำเศรษฐกิจพอเพียงโดย มีต้นทุนอยู่ที่ดิน 8 ไร่ศึกษาและเรียนรู้เองจนตกผลึกทางความคิดว่า เมื่อจะทำเกษตรแบบพอเพียง ต้องสร้างโรงปุ๋ยก่อน ประกอบกับ พื้นที่เป็นสวนปาล์ม ทางปาล์มมีเยอะเป็นอาหารของวัว ที่มีด้วยกัน 4 ตัว โดยใช้ทางปาล์มซึ่งชาวสวนต้องตัดทิ้งอยู่แล้ว นำมาเข้าเครื่อง บดเป็นอาหารให้วัว เมื่อวัวถ่ายออกมา นำมูลของมันหมักในบ่อก๊าซ ชีวภาพ ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อก๊าซหุงต้ม สวนวัวที่เหลือยังไปทำเป็นอาหารปลา และปุ๋ยหมักได้โดยมีการคำนวณว่า มูลวัว 1 ตัว จะมีปริมาณถึง 2 ตันต่อเดือน ได้แก๊สชีวภาพ 15-16 กิโลกรัม นับตั้งแต่การเริ่มต้นเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อหลวง ของมนุษย์เงินเดือนตั้งแต่ปี 2540 จนมาถึงวันนี้เมื่อถามถึงตัวเลขของรายได้ในแต่ละเดือน
สงวนแจงให้ฟังว่า ย้อนไปเมื่อแรกเริ่มเหลือเพียง 900 บาท จากเดิมที่เคยได้รับ เงินเดือน 20,000 กว่าบาท สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้ตัวเองอยู่ไม่น้อย แต่เมื่อมานั่งย้อนดูบัญชียังมีเงินเหลือเก็บ 300 บาท นั้นเป็นแรงผลักว่ารายได้ 900 ยังเหลือออม จึงตันสินใจมุ่งมั่นจะเดินตามรอยเท้าของพ่อต่อไป ภายใต้การ สนใจใฝ่รู้มีตรงไหนติด ขัดไม่เข้าใจจะวิ่งไปขอความรู้จากเกษตรอำเภอในพื้นที่